Health

  • อีโบลา (EBOLA)
    อีโบลา (EBOLA)

    อีโบลา (Ebola) หรือโรคอีโบลา เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ซึ่งเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต

    เมื่อได้รับเชื้อไวรัส อีโบลา เข้าสู่ร่างกาย ไวรัสจะสร้างความเสียหายต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและอวัยวะที่สำคัญต่างๆ ในที่สุดแล้วจะทำให้ระดับเซลล์ที่ควบคุมการแข็งตัวของเลือดต่ำลงจนนำไปสู่การเกิดภาวะเลือดออกที่รุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้

    อีโบลา

    อาการของโรคอีโบลา

    – มีไข้สูง เจ็บคอ ปวดศีรษะ
    – ปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ
    – ร่างกายอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างรุนแรง
    – ปวดท้อง หรือเบื่ออาหาร

    สาเหตุของโรคอีโบลา

    – การสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้อีกหลายวัน
    – การใช้เข็มหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกับผู้ติดเชื้อ
    – การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย โดยเชื้อไวรัสจะสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำอสุจิได้อีกหลายเดือนหลังจากที่โรคหายแล้ว
    – การสัมผัสหรือรับประทานอาหารป่าแบบดิบหรือสุก

    การแพร่ระบาดของโรค

    โรคอีโบลาถูกนำเข้าสู่ประชากรมนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐานว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นได้จากการจับต้องสัตว์ติดเชื้อได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง แอนติโลปป่า และเม่น สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก

    จากนั้นโรคอีโบลาก็แพร่ระบาดไปในชุมชนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง (ผ่านผิวหนังที่เป็นแผลหรือเยื้อชุ่ม) กับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของผู้ติดเชื้อและจากการสัมผัสโดยอ้อมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปนเปื้อนด้วยของเหลวดังกล่าว พิธีฝังศพที่ผู้เข้าร่วมพิธีมีโอกาสสัมผัสร่างกายของผู้ตายโดยตรงมีบทบาทต่อการแพร่โรคอีโบลา นอกจากนี้ ชายผู้หายป่วยด้วยโรคอีโบลาแล้วยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสผ่านน้ำอุสจิของเขาได้อีกนานถึง 7 สัปดาห์หลังหายจากโรค

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคอีโบลา

    ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลามีโอกาสที่จะเสียชีวิตมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และการติดเชื้อไวรัสอีโบลายังอาจทำให้เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น ความดันโลหิตลดต่ำลงมาก การทำงานของอวัยวะที่สำคัญในร่างกายล้มเหลว โรคดีซ่าน มีเลือดออกอย่างรุนแรง อาการเพ้อ อาการชัก อาการขาดสติ รวมไปถึงเกิดภาวะโคม่า (Coma)

    การรักษาโรคอีโบลา

    การรักษาโรคอีโบลาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) จะเป็นการรักษาด้วยยา โดยตัวยาจะทำหน้าที่คล้ายกับแอนติบอดีในร่างกายในการดักจับเชื้อไวรัสอีโบลาและหยุดยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีการรักษาแบบประคับประคองหรือควบคุมอาการ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมากขึ้น เช่น ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ให้ยากระตุ้นความดันโลหิต รักษาระดับความดันโลหิต ถ่ายเลือดหรือให้เลือด รวมถึงรักษาอาการติดเชื้ออื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา

    ที่มา

    vibhavadi.com

    bangkokpattayahospital.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ pattayacentrehotel.net

     

Economy

  • ประธานสมาคมธนาคารไทย ประเมินสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยถึงจุดพีค
    ประธานสมาคมธนาคารไทย ประเมินสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยถึงจุดพีค

    ประธานสมาคมธนาคารไทย ประเมินสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยถึงจุดพีคแล้ว รอจับตาซอฟต์แลนดิ้ง

    นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวหลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% ต่อปีว่า

    เมื่อ กนง. ไฟเขียวขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ฉะนั้นการส่งผ่านดอกเบี้ยคงต้องดูสถานการณ์ โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ต่างๆ จากนี้ เพราะแต่ละแห่งมีโครงสร้างทางการเงินแตกต่างกัน โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้แบงก์ต่าง ๆ น่าจะรับทราบสัญญาณการส่งผ่านเรื่องดอกเบี้ยที่น่าจะพีคแล้ว ตอนนี้ต้องดูว่าจะซอฟต์แลนดิ้งอย่างไร

    นายผยง กล่าวต่อว่า สำหรับธนาคารกรุงไทยขอดูสถานการณ์ก่อนว่าเป็นอย่างไร หากธนาคารอื่นๆ ปรับดอกเบี้ยขึ้น ธนาคารกรุงไทยก็ต้องพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ต้องดูผลกระทบกับกลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้ารายย่อย และลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีด้วย

    ติดตามอ่านข่าวเศรษฐกิจได้ที่ pattayacentrehotel.net